ยินดีต้อนรับเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ***** วิสัยทัศน์ : องค์กรขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มุ่งสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 *****
วันที่ 20 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4...
วันที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น. นายบรรพจน์ ทัพซ้าย รองผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4...
วันที่ 17 มีนาคม 2566 นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 มอบหมาย นางสาวสัทธา...
วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 15.00 น. นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4...
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ดำเนินโครงการส่งเสริมโอกาสฯ “พาน้องกลับมาเรียน”
ตามที่ รัฐบาลมีนโยบาย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการ ตามบทบาทและภารกิจการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก จึงจัดทำโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน 12 หน่วยงาน ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสร้างโอกาสให้กับเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ ให้ได้รับการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 โดยการนำของนายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ได้ให้ความสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำให้กับผู้เรียนทุกคน ให้ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียม จึงได้มีการกำหนดนโยบายขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยส่งเสริมการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ดำเนินการ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามค้นหาเด็กตกหล่น และออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
2. ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ แผนและแนวทางการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้สถานศึกษาในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ
3. ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
4. ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาในการติดตามค้นหาฯ โดยใช้ Mobile Application “พาน้องกลับมาเรียน” และเว็บไซต์ https://dropout.edudev.in.th เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล
5. ส่งเสริมการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน เด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายในการพื้นที่
7. กำกับ ติดตาม รายงานผลการดำเนินงานในภาพรวม เสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
เว็บไซต์หลักโครงการ https://dropout.edudev.in.th
แนวทางการดำเนินการ
คู่มือโครงการ