ยินดีต้อนรับเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ***** วิสัยทัศน์ : องค์กรขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มุ่งสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 *****
วันที่ 23 มีนาคม 2566 นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 พร้อมด้วย นายบรรพจน์...
วันที่ 23 มีนาคม 2566 นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4...
วันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น. นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 มอบหมาย...
วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 มอบหมาย นายบรรพจน์...
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ดำเนินโครงการส่งเสริมโอกาสฯ “พาน้องกลับมาเรียน”
ตามที่ รัฐบาลมีนโยบาย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการ ตามบทบาทและภารกิจการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก จึงจัดทำโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน 12 หน่วยงาน ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสร้างโอกาสให้กับเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ ให้ได้รับการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 โดยการนำของนายนิพนธ์ ภัทรวังส์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ได้ให้ความสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำให้กับผู้เรียนทุกคน ให้ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียม จึงได้มีการกำหนดนโยบายขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยส่งเสริมการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ดำเนินการ ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการติดตามค้นหาเด็กตกหล่น และออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
2. ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ แผนและแนวทางการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้สถานศึกษาในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ
3. ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
4. ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาในการติดตามค้นหาฯ โดยใช้ Mobile Application “พาน้องกลับมาเรียน” และเว็บไซต์ https://dropout.edudev.in.th เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล
5. ส่งเสริมการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน เด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายในการพื้นที่
7. กำกับ ติดตาม รายงานผลการดำเนินงานในภาพรวม เสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
เว็บไซต์หลักโครงการ https://dropout.edudev.in.th
แนวทางการดำเนินการ
คู่มือโครงการ